วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วงกลม

รูปวงกลม          
           วงกลม
 คือ รูปร่างทาง
เรขาคณิตรูปแบบหนึ่ง เป็นรูปปิด ไม่มีมุม สามารถวาดได้โดยกำหนดจุดศูนย์กลางขึ้นมา 1 จุด จากนั้นจึงลากเส้นให้มีระยะห่างจากจุดนี้เท่ากันโดยตลอด วนรอบจุดศูนย์กลางจนกลับมาถึงจุดเริ่มต้น โดยระยะห่างจากจุดศูนย์กลางนี้มีชื่อเรียกว่า รัศมี
วงกลม
วงกลม
 
           สูตรการหาความยาวเส้นรอบวงกลมคือ เส้นรอบวง = 2pi  imes r
           สูตรการหาพื้นที่วงกลมคือ พื้นที่วงกลม = pi  imes r^2
           ค่าของ pi คือ 3.1415... ซึ่งเป็นผลมาจาก เส้นรอบวง หารด้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ พาย)

ผลการวิเคราะห์

 

พื้นที่จัตุรัสที่แรเงา
พื้นที่จัตุรัสที่แรเงา
 
           ใน ระบบโคออร์ดิเนต x-y วงกลมที่มีจุดศูนย์กลาง (a, b) และรัศมี r คือเซ็ตของทุกจุด (x, y) ที่

left( x - a 
ight)^2 + left( y - b 
ight)^2=r^2
           หากวงกลมมีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด (0, 0) แล้ว สูตรนี้สามารถย่อได้ ดังนี้
x2 + y2 = r2
           วงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด ที่มีรัศมี 1 หน่วย เรียกว่า วงกลมหนึ่งหน่วย (unit circle)
           เมื่อแสดงในรูปสมการอิงตัวแปรเสริม (x, y) สามารถเขียนได้โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ไซน์ และโคไซน์ ดังนี้
x = a + r cos(t)
y = b + r sin(t),

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สถิติ และความน่าจะเป็นเบื้องต้น

 

สถิติ


1. เป็นแผนภูมิรูปภาพเพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ ซึ่งข้อมูลเรื่องเดียวกันจะต้องใช้รูปภาพที่เหมือนกัน 
    และขนาดเท่ากัน
    การใช้รูปภาพเพื่อแสงข้อมูลในแต่ละครั้งก่อน จะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าจะให้รูปภาพแทนสิ่งของ
    เป็นจำนวนเท่าใด นอกจากนั้นแผนภูมิรูปภาพต้องมีชื่อบอกว่าเป็นแผนภูมิที่แสดงอะไร

ความน่าจะเป็นเบื่องต้น


1. เป็นวิธีการวัดความไม่แน่นอนในรูปแบบคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อโยนเหรียญ 
    ความน่าจะเป็นของเหรียญที่จะออกหัวหรือก้อยเท่ากับ 
    ดังนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอาณาคตเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์  
    ความน่าจะเป็น เป็นค่าที่อาจมีความหมายที่หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก ความน่าจะเป็น 
    เป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ 
    ความน่าจะเป็นมีการกำหนดค่าเป็นเศษส่วนหรือเป็นเปอร์เซนต์หรือให้มีค่าระหว่าง ถึง เช่น 
    ถ้านำลูกเต๋า ทอยลงบนพื้น โอกาสที่จะปรากฎหน้า มีค่าเท่ากับ 1/6  ถ้าโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ 
    และให้ตกบนพื้น (โยนแบบยุติธรรม) โอกาสที่จะปรากฏหัวเท่ากับ 1/2 

 ตัวอย่าง

   พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือไม่
   - บางทีเราต้องไปทำงานวันนี้
   - นายกอาจลาออกและยุปสภาเร็ว ๆ นี้
   - ทีมฟุตบอลทีมใดจะได้เป็นแชมป์โลก
   - ใครชนะเลือกตั้งในสมัยหน้า

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บัญญัติไตรยางศ์

ในวิชาคณิตศาสตร์ บัญญัติไตรยางศ์ คือวิธีการหาค่าที่สี่ในการแก้โจทย์ เมื่อมีค่าที่ทราบอยู่แล้วสามค่า โดยอาศัยหลักที่ว่า ผลลัพธ์ของค่าแรกและค่าที่สี่ (เรียกว่า ค่าสุดขีด) เท่ากับผลลัพธ์ของค่าที่สองและค่าที่สาม (เรียกว่า ค่ามัชฌิม)
การแก้โจทย์ เช่น หากรถคันหนึ่งแล่นด้วยความเร็วคงที่ ในเวลา 3 ชั่วโมง ขับได้ระยะ 300 กิโลเมตร ในเวลา 6 ชั่วโมงจะขับได้ระยะทางเท่าใด นั้น
จะต้องตั้งสมการเป็น "3 เท่ากับ 300 เมื่อ 6 เท่ากับ 'X'" หรือ
 a\ \hat =\  b
 c\ \hat =\  x
สมมุติ a, b และ c เป็นค่าที่กำหนดมา ในกรณีนี้ คือ 3, 300 และ 6 ตามลำดับ ส่วน x คือค่าที่ต้องคำนวณหา ข้อสำคัญคือค่าผลหารจะอยู่ในระบบหน่วยวัดเดียวกัน
ตอนนี้เราจะต้องคำนวณทแยง นั่นคือคูณ c และ b เข้าด้วยกัน จากนั้นก็หารด้วย a ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ x
 x  =  {c \cdot b \over a}
จากตัวอย่างที่ยกมานี้ รถจะแล่นได้ระยะทาง 600 กิโลเมตร ในเวลา 6 ชั่วโมง ความเร็วของรถนั้นต้องพิจารณาด้วย นั่นคือ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อีกวิธีหนึ่ง อาจใช้เพื่อคำนวณสัดส่วน และใช้ นั่นคือ b \over a และจากนั้นคูณด้วย c เพื่อหาค่า x ซึ่งจะมีค่าทางคณิตศาสตร์เท่ากับ  x  =  {c \cdot b \over a}

การชั่งตวง

มาตราชั่ง  ตวง  วัด  ที่ควรรู้

                  1  กุรุส                           =     12         โหล                        1       โหล     =       12     ชิ้น

กระดาษ       1    รีม                            =      480       แผ่น

น้ำ              1   แกลลอน                      =     10         ปอนด์
น้ำ              1   ลูกบาศก์ฟุต หนัก           =     62.3      ปอนด์
น้ำ              1   ลูกบาศก์เซนติเมตร หนัก  =     1           กรัม
น้ำ              1   ลิตร                           =     1           กิโลกรัม
                                                      

มาตราตวงของไทย


                 1   เกวียน                        =     2           บั้น (100 ถัง)
                 1   บั้น                            =     50         ถัง
                 1   ถัง                             =     20         ลิตร
                 1   ลิตร                           =     1,000   ลูกบาศก์เซนติเมตร
                 1   แกลลอน                      =     45.6      ลิตร

วัดพื้นที่


                  4,840  ตารางหรา            =     1           เอเคอร์
                        1  เอเคอร์                  =     2  1/2   ไร่
                  2.471  เอเคอร์                =     1           เฮกตาร์

มาตราวัดพื้นที่ของๆไทย


                100                                ตารางวา          =        1       งาน
                 4   งาน                           =     1           ไร่ (คือตารางเส้น)                

เทียบมาตราวัดระยะ เมตริก มาตราอังกฤษ และไทย


                 1   เมตร                          =     2           ศอก
                 1   กิโลเมตร                     =     25         เส้น (1,000 เมตร)
                 1   ไมล์                            =     40         เส้น
                 1   ไมล์                            =     1760    หลา
                 1   หลา                           =     3           ฟุต



มาตราวัดความยาวไทยเทียบเมตริก


                 1   คืบ                            =     25         เซนติเมตร
                 1   ศอก                           =     50         เซนติเมตร

                 1    วา                             =      2           เมตร

                 1   เส้น                            =     40         เมตร
                 25 เส้น                            =     1           กิโลเมตร
                 1   โยชน์                          =     16         กิโลเมตร

มาตราวัดเนื้อที่ไทยเทียบมาตราเมตริก


                 1   ไร่                              =     1600    ตารางเมตร
                 1   งาน                           =     400       ตารางเมตร
                 1   ตารางวา                     =     4           ตารางเมตร

มาตราตวงไทยเทียบเมตริก


                 1   ทะนานหลวง                 =     1           ลิตร
                 1   สัดหลวง                     =     20         ลิตร
                 1   บั้นหลวง                     =     1000    ลิตร
                 1   เกวียนหลวง                 =     2000    ลิตร

มาตราน้ำหนักไทยเทียบเมตริก


                 1   สลึง                           =     3.75      กรัม
                 1   บาท                           =     15         กรัม
                 1   ชั่ง                             =     1.2        กิโลกรัม
                 1   หาบ                           =     60         กรัม

มาตราชั่งเพชรพลอย

                 1   กะรัต                         =     20         เซนติกรัม
                                                       หรือ  200        มิลลิกรัม                







เทียบมาตราเบ็ดเสร็จ


                 1   เส้น                            =     40         เมตร
                 1   โยชน์                          =     16         กิโลเมตร
                 1   กิโลเมตร                     =     25         เส้น
                 1   ไมล์                            =     40         เส้น
                 1   ไมล์                            =     1.6        กิโลเมตร
                 1   หลา                           =     91.5      เซนติเมตร
                 1   ฟุต                            =     31.5      เซนติเมตร
                 1   เมตร                          =     39.3      นิ้ว

มาตราชั่งน้ำหนักเมตริกเทียบไทย


                 15 กรัม                          =     1           บาท
                 600 กรัม                         =     1           ชั่งหลวง
                 60 กิโลกรัม                     =     1           หาบหลวง

มาตราชั่ง


                 16 ออนซ์                         =     1           ปอนด์
                 14 ปอนด์                        =     1           สโตน
                 112ปอนด์                       =     1           ฮันเดรตเวท
                 20 ฮันเดรตเวท                 =     1           ตัน
                 1   ตัน                            =     1000    กรัม


                

 service.nso.go.th/nso/data/data07/07files/unit.doc

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การหา ค.ร.น และ ห.ร.ม.

ตัวหารร่วมที่มากทีสุด (ห.ร.ม.)
ตัวหารร่วมที่มากที่สุดของจำนวนใดๆ  ตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป  หมายถึง  จำนวนที่มีค่ามากที่สุดที่สามารถหารจำนวนทั้งหมดเหล่านั้นได้ลงตัว

วิธีการหา  ห.ร.ม.
1.  โดยการแยกตัวประกอบ  มีิวิธีการดังนี้
(1) แยกตัวประกอบของจำนวนทุกจำนวนที่ต้องการหาร ห.ร.ม.
(2) เลือกตัวประกอบที่ซ้ำกันของทุกจำนวนมาคูณกัน
(3) ห.ร.ม. คือ  ผลคูณที่ได้
ตัวอย่าง   จงหา ห.ร.ม. ของ  56   84  และ 140
วิธีทำ            56 = 
84 = 
140 = 
เลือกตัวที่ซ้ำกัน  ที่อยู่ทั้ง 56 84และ 140 ตัวทีซ้ำกันเอามาซ้ำละ 1 ตัว
คือ  มีเลข  2   เลข  2 และ เลข 7

                 ดังนั้น       ห.ร.ม.   =  

            2. การหารสั้น   มีวิธีการดังนี้
1)  นำจำนวนทั้งหมดที่ต้องการหา ห.ร.ม. มาเขียนเรียงกัน
2)  หาจำนวนเฉพาะที่สามารถหารจำนวนทั้งหมดได้ลงตัวมาหารไปเรื่อยๆ  จนกว่าไม่สามารถหาได้
3)  นำตัวหารทุกตัวที่ใช้มาคูณกัน  เป็นค่าของ  ห.ร.ม.
ตัวอย่าง   จงหา ห.ร.ม. ของ  56   84  และ 140
วิธีทำ      2)  56       84       140                                      2)  28       42        70                                      7)  14       21        35                                            2         3         5
ห.ร.ม.  คือ  2 x 2 x 7 = 28

 ประโยชน์ของ  ห.ร.ม.
1. ใช้ทอนเศษส่วนใ้ห้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ
2. ใช้คำนวณการแบ่งสิ่งของที่มีจำนวนไม่เท่ากันออกเป็นส่วนๆ  ที่เท่าักันโดยไม่ปะปนกันและให้เป็นจำนวนที่มากที่สุด


ตัวคูณร่วมน้อยที่สุด  (ค.ร.น.)
ตัวคูณร่วมน้อยที่สุดของจำนวนใดๆ  ตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป  หมายถึง  จำนวนที่น้อยที่สุดที่จำนวนเหล่านั้นมาหารได้ลงตัว  หรือจำนวนที่น้อยที่สุดที่มีจำนวนเหล่านั้นเป็นตัวประกอบ
     วิธีการหา  ค.ร.น.
1.  โดยการแยกตัวประกอบ  มีวิธีการดังนี้
ื               1)  แยกตัวประกอบของจำนวนทุกจำนวนที่ต้องการหา  ค.ร.น.
2)  เลือกตัวประกอบตัวที่ซ้ำกันมาเพียงตัวเดียว
3)  เลือกตัวประกอบตัวที่ไม่ซ้ำกันมาทุกตัว
4)  นำจำนวนทีี่่่เลือกมาจากข้อ 2และ 3มาคูณกันทั้งหมด  เป็นค่าของ  ค.ร.น.
                   ตัวอย่าง      จงหา   ค.ร.น.  ของ  10,   24 และ  30
วิธีทำ       10 =  
24 =         
30 =  
                         ค.ร.น.  =  5 x 2 x 3 x 2 x 2  = 120
2. โดยการหารสั้น  มีวิธีการดังนี้
1) นำจำนวนทั้งหมดที่ต้องการหา  ค.ร.น.  มาตั้งเรียงกัน
2) หาจำนวนเฉพาะที่สามารถหารจำนวนทั้งหมดได้ลงตัว  หรือหารลงตัวอย่างน้อย 2 จำนวน  จำนวนใดหารไม่ได้ให้ดึงลงมา
3) ให้ทำซ้ำข้อ 2 จนกว่าจะหารอีกไม่ได้
4) นำตัวหารทั้งหมดและผลลัพธ์สุดท้ายมาคูณกัน  ผลคูณคือค่าของ  ค.ร.น.
ตัวอย่าง    จงหา   ค.ร.น.  ของ  10,   24 และ  30
วิธีทำ    2)  10     24     30                                    5)  5      12      15                                    3)  1      12       3                                         1       4        1
                         .ร.น.   =  2 x 5 x 3 x 4 = 120
ประโยชน์ของ  ค.ร.น.
1. ใช้ในการหาผลบวกและผลลบของเศษส่วน  โดยทำส่วนให้เท่ากัน
2.  ใช้ในการคำนวณงานบางอย่างที่ใช้เวลาต่างกัน  และหาเวลาที่จะทำพร้อมกันในครั้งต่อไป
http://patsang.wordpress.com/ เรื่องการหา ค.ร.น.และห.ร.ม.