เรขาคณิต
คณิตศาสตร์
วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วงกลม
รูปวงกลม
วงกลม คือ รูปร่างทางเรขาคณิตรูปแบบหนึ่ง เป็นรูปปิด ไม่มีมุม สามารถวาดได้โดยกำหนดจุดศูนย์กลางขึ้นมา 1 จุด จากนั้นจึงลากเส้นให้มีระยะห่างจากจุดนี้เท่ากันโดยตลอด วนรอบจุดศูนย์กลางจนกลับมาถึงจุดเริ่มต้น โดยระยะห่างจากจุดศูนย์กลางนี้มีชื่อเรียกว่า รัศมี
วงกลม คือ รูปร่างทางเรขาคณิตรูปแบบหนึ่ง เป็นรูปปิด ไม่มีมุม สามารถวาดได้โดยกำหนดจุดศูนย์กลางขึ้นมา 1 จุด จากนั้นจึงลากเส้นให้มีระยะห่างจากจุดนี้เท่ากันโดยตลอด วนรอบจุดศูนย์กลางจนกลับมาถึงจุดเริ่มต้น โดยระยะห่างจากจุดศูนย์กลางนี้มีชื่อเรียกว่า รัศมี
ค่าของ pi คือ 3.1415... ซึ่งเป็นผลมาจาก เส้นรอบวง หารด้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ พาย)
ผลการวิเคราะห์
ใน ระบบโคออร์ดิเนต x-y วงกลมที่มีจุดศูนย์กลาง (a, b) และรัศมี r คือเซ็ตของทุกจุด (x, y) ที่
หากวงกลมมีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด (0, 0) แล้ว สูตรนี้สามารถย่อได้ ดังนี้
- x2 + y2 = r2
วงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด ที่มีรัศมี 1 หน่วย เรียกว่า วงกลมหนึ่งหน่วย (unit circle)
เมื่อแสดงในรูปสมการอิงตัวแปรเสริม (x, y) สามารถเขียนได้โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ไซน์ และโคไซน์ ดังนี้
- x = a + r cos(t)
- y = b + r sin(t),
วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สถิติ และความน่าจะเป็นเบื้องต้น
สถิติ
1. เป็นแผนภูมิรูปภาพเพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ ซึ่งข้อมูลเรื่องเดียวกันจะต้องใช้รูปภาพที่เหมือนกัน
และขนาดเท่ากัน
การใช้รูปภาพเพื่อแสงข้อมูลในแต่ละครั้งก่อน จะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าจะให้รูปภาพแทนสิ่งของ
เป็นจำนวนเท่าใด นอกจากนั้นแผนภูมิรูปภาพต้องมีชื่อบอกว่าเป็นแผนภูมิที่แสดงอะไร
ความน่าจะเป็นเบื่องต้น
1. เป็นวิธีการวัดความไม่แน่นอนในรูปแบบคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อโยนเหรียญ
ความน่าจะเป็นของเหรียญที่จะออกหัวหรือก้อยเท่ากับ
ดังนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอาณาคตเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์
ความน่าจะเป็น เป็นค่าที่อาจมีความหมายที่หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก ความน่าจะเป็น
เป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ
ความน่าจะเป็นมีการกำหนดค่าเป็นเศษส่วนหรือเป็นเปอร์เซนต์หรือให้มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 เช่น
ถ้านำลูกเต๋า ทอยลงบนพื้น โอกาสที่จะปรากฎหน้า 1 มีค่าเท่ากับ 1/6 ถ้าโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ
และให้ตกบนพื้น (โยนแบบยุติธรรม) โอกาสที่จะปรากฏหัวเท่ากับ 1/2
ตัวอย่าง
- พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือไม่
- บางทีเราต้องไปทำงานวันนี้ - นายกอาจลาออกและยุปสภาเร็ว ๆ นี้ - ทีมฟุตบอลทีมใดจะได้เป็นแชมป์โลก - ใครชนะเลือกตั้งในสมัยหน้า |
วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556
บัญญัติไตรยางศ์
ในวิชาคณิตศาสตร์ บัญญัติไตรยางศ์ คือวิธีการหาค่าที่สี่ในการแก้โจทย์ เมื่อมีค่าที่ทราบอยู่แล้วสามค่า โดยอาศัยหลักที่ว่า ผลลัพธ์ของค่าแรกและค่าที่สี่ (เรียกว่า ค่าสุดขีด) เท่ากับผลลัพธ์ของค่าที่สองและค่าที่สาม (เรียกว่า ค่ามัชฌิม)
การแก้โจทย์ เช่น หากรถคันหนึ่งแล่นด้วยความเร็วคงที่ ในเวลา 3 ชั่วโมง ขับได้ระยะ 300 กิโลเมตร ในเวลา 6 ชั่วโมงจะขับได้ระยะทางเท่าใด นั้น
จะต้องตั้งสมการเป็น "3 เท่ากับ 300 เมื่อ 6 เท่ากับ 'X'" หรือ
สมมุติ a, b และ c เป็นค่าที่กำหนดมา ในกรณีนี้ คือ 3, 300 และ 6 ตามลำดับ ส่วน x คือค่าที่ต้องคำนวณหา ข้อสำคัญคือค่าผลหารจะอยู่ในระบบหน่วยวัดเดียวกัน
ตอนนี้เราจะต้องคำนวณทแยง นั่นคือคูณ c และ b เข้าด้วยกัน จากนั้นก็หารด้วย a ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ x
จากตัวอย่างที่ยกมานี้ รถจะแล่นได้ระยะทาง 600 กิโลเมตร ในเวลา 6 ชั่วโมง ความเร็วของรถนั้นต้องพิจารณาด้วย นั่นคือ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อีกวิธีหนึ่ง อาจใช้เพื่อคำนวณสัดส่วน และใช้ นั่นคือ และจากนั้นคูณด้วย c เพื่อหาค่า x ซึ่งจะมีค่าทางคณิตศาสตร์เท่ากับ
การชั่งตวง
มาตราชั่ง ตวง
วัด ที่ควรรู้
1 กุรุส = 12 โหล 1 โหล = 12 ชิ้น
กระดาษ 1 รีม = 480 แผ่น
น้ำ 1 แกลลอน = 10 ปอนด์
น้ำ 1 ลูกบาศก์ฟุต หนัก = 62.3 ปอนด์
น้ำ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร หนัก = 1 กรัม
น้ำ 1 ลิตร = 1 กิโลกรัม
มาตราตวงของไทย
1 เกวียน = 2 บั้น (100 ถัง)
1 บั้น = 50 ถัง
1 ถัง = 20 ลิตร
1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1 แกลลอน = 45.6 ลิตร
วัดพื้นที่
4,840 ตารางหรา = 1 เอเคอร์
1
เอเคอร์ = 2
1/2 ไร่
2.471 เอเคอร์ = 1 เฮกตาร์
มาตราวัดพื้นที่ของๆไทย
100 ตารางวา = 1 งาน
4 งาน = 1 ไร่ (คือตารางเส้น)
เทียบมาตราวัดระยะ เมตริก มาตราอังกฤษ และไทย
1 เมตร = 2 ศอก
1 กิโลเมตร = 25 เส้น (1,000 เมตร)
1 ไมล์ = 40 เส้น
1 ไมล์ = 1760 หลา
1 หลา = 3 ฟุต
มาตราวัดความยาวไทยเทียบเมตริก
1 คืบ = 25 เซนติเมตร
1 ศอก = 50 เซนติเมตร
1 วา = 2 เมตร
1 เส้น = 40 เมตร
25 เส้น = 1 กิโลเมตร
1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร
มาตราวัดเนื้อที่ไทยเทียบมาตราเมตริก
1 ไร่ = 1600 ตารางเมตร
1 งาน = 400 ตารางเมตร
1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร
มาตราตวงไทยเทียบเมตริก
1 ทะนานหลวง = 1 ลิตร
1 สัดหลวง = 20 ลิตร
1 บั้นหลวง = 1000 ลิตร
1 เกวียนหลวง = 2000 ลิตร
มาตราน้ำหนักไทยเทียบเมตริก
1 สลึง = 3.75 กรัม
1 บาท = 15 กรัม
1 ชั่ง = 1.2 กิโลกรัม
1 หาบ = 60 กรัม
มาตราชั่งเพชรพลอย
1 กะรัต = 20 เซนติกรัม
หรือ 200 มิลลิกรัม
เทียบมาตราเบ็ดเสร็จ
1 เส้น = 40 เมตร
1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร
1 กิโลเมตร = 25 เส้น
1 ไมล์ = 40 เส้น
1 ไมล์ = 1.6 กิโลเมตร
1 หลา = 91.5 เซนติเมตร
1 ฟุต = 31.5 เซนติเมตร
1 เมตร = 39.3 นิ้ว
มาตราชั่งน้ำหนักเมตริกเทียบไทย
15
กรัม = 1 บาท
600
กรัม = 1 ชั่งหลวง
60 กิโลกรัม = 1 หาบหลวง
มาตราชั่ง
16 ออนซ์ = 1 ปอนด์
14 ปอนด์ = 1 สโตน
112ปอนด์ = 1 ฮันเดรตเวท
20 ฮันเดรตเวท = 1 ตัน
1 ตัน = 1000 กรัม
service.nso.go.th/nso/data/data07/07files/unit.doc
วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556
การหา ค.ร.น และ ห.ร.ม.
ตัวหารร่วมที่มากทีสุด (ห.ร.ม.)
ตัวหารร่วมที่มากที่สุดของจำนวนใดๆ ตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง จำนวนที่มีค่ามากที่สุดที่สามารถหารจำนวนทั้งหมดเหล่านั้นได้ลงตัว
วิธีการหา ห.ร.ม.
1. โดยการแยกตัวประกอบ มีิวิธีการดังนี้
(1) แยกตัวประกอบของจำนวนทุกจำนวนที่ต้องการหาร ห.ร.ม.
(2) เลือกตัวประกอบที่ซ้ำกันของทุกจำนวนมาคูณกัน
(3) ห.ร.ม. คือ ผลคูณที่ได้
1. โดยการแยกตัวประกอบ มีิวิธีการดังนี้
(1) แยกตัวประกอบของจำนวนทุกจำนวนที่ต้องการหาร ห.ร.ม.
(2) เลือกตัวประกอบที่ซ้ำกันของทุกจำนวนมาคูณกัน
(3) ห.ร.ม. คือ ผลคูณที่ได้
ตัวอย่าง จงหา ห.ร.ม. ของ 56 84 และ 140
วิธีทำ 56 =
84 =
140 =
เลือกตัวที่ซ้ำกัน ที่อยู่ทั้ง 56 84และ 140 ตัวทีซ้ำกันเอามาซ้ำละ 1 ตัว
คือ มีเลข 2 เลข 2 และ เลข 7
วิธีทำ 56 =
84 =
140 =
เลือกตัวที่ซ้ำกัน ที่อยู่ทั้ง 56 84และ 140 ตัวทีซ้ำกันเอามาซ้ำละ 1 ตัว
คือ มีเลข 2 เลข 2 และ เลข 7
ดังนั้น ห.ร.ม. =
2. การหารสั้น มีวิธีการดังนี้
1) นำจำนวนทั้งหมดที่ต้องการหา ห.ร.ม. มาเขียนเรียงกัน
2) หาจำนวนเฉพาะที่สามารถหารจำนวนทั้งหมดได้ลงตัวมาหารไปเรื่อยๆ จนกว่าไม่สามารถหาได้
3) นำตัวหารทุกตัวที่ใช้มาคูณกัน เป็นค่าของ ห.ร.ม.
1) นำจำนวนทั้งหมดที่ต้องการหา ห.ร.ม. มาเขียนเรียงกัน
2) หาจำนวนเฉพาะที่สามารถหารจำนวนทั้งหมดได้ลงตัวมาหารไปเรื่อยๆ จนกว่าไม่สามารถหาได้
3) นำตัวหารทุกตัวที่ใช้มาคูณกัน เป็นค่าของ ห.ร.ม.
ตัวอย่าง จงหา ห.ร.ม. ของ 56 84 และ 140
วิธีทำ 2) 56 84 140 2) 28 42 70 7) 14 21 35 2 3 5
ห.ร.ม. คือ 2 x 2 x 7 = 28
วิธีทำ 2) 56 84 140 2) 28 42 70 7) 14 21 35 2 3 5
ห.ร.ม. คือ 2 x 2 x 7 = 28
ประโยชน์ของ ห.ร.ม.
1. ใช้ทอนเศษส่วนใ้ห้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ
2. ใช้คำนวณการแบ่งสิ่งของที่มีจำนวนไม่เท่ากันออกเป็นส่วนๆ ที่เท่าักันโดยไม่ปะปนกันและให้เป็นจำนวนที่มากที่สุด
1. ใช้ทอนเศษส่วนใ้ห้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ
2. ใช้คำนวณการแบ่งสิ่งของที่มีจำนวนไม่เท่ากันออกเป็นส่วนๆ ที่เท่าักันโดยไม่ปะปนกันและให้เป็นจำนวนที่มากที่สุด
ตัวคูณร่วมน้อยที่สุด (ค.ร.น.)
ตัวคูณร่วมน้อยที่สุดของจำนวนใดๆ ตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง จำนวนที่น้อยที่สุดที่จำนวนเหล่านั้นมาหารได้ลงตัว หรือจำนวนที่น้อยที่สุดที่มีจำนวนเหล่านั้นเป็นตัวประกอบ
ตัวคูณร่วมน้อยที่สุดของจำนวนใดๆ ตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง จำนวนที่น้อยที่สุดที่จำนวนเหล่านั้นมาหารได้ลงตัว หรือจำนวนที่น้อยที่สุดที่มีจำนวนเหล่านั้นเป็นตัวประกอบ
วิธีการหา ค.ร.น.
1. โดยการแยกตัวประกอบ มีวิธีการดังนี้
ื 1) แยกตัวประกอบของจำนวนทุกจำนวนที่ต้องการหา ค.ร.น.
2) เลือกตัวประกอบตัวที่ซ้ำกันมาเพียงตัวเดียว
3) เลือกตัวประกอบตัวที่ไม่ซ้ำกันมาทุกตัว
4) นำจำนวนทีี่่่เลือกมาจากข้อ 2และ 3มาคูณกันทั้งหมด เป็นค่าของ ค.ร.น.
1. โดยการแยกตัวประกอบ มีวิธีการดังนี้
ื 1) แยกตัวประกอบของจำนวนทุกจำนวนที่ต้องการหา ค.ร.น.
2) เลือกตัวประกอบตัวที่ซ้ำกันมาเพียงตัวเดียว
3) เลือกตัวประกอบตัวที่ไม่ซ้ำกันมาทุกตัว
4) นำจำนวนทีี่่่เลือกมาจากข้อ 2และ 3มาคูณกันทั้งหมด เป็นค่าของ ค.ร.น.
ตัวอย่าง จงหา ค.ร.น. ของ 10, 24 และ 30
วิธีทำ 10 =
24 =
30 =
วิธีทำ 10 =
24 =
30 =
ค.ร.น. = 5 x 2 x 3 x 2 x 2 = 120
2. โดยการหารสั้น มีวิธีการดังนี้
1) นำจำนวนทั้งหมดที่ต้องการหา ค.ร.น. มาตั้งเรียงกัน
2) หาจำนวนเฉพาะที่สามารถหารจำนวนทั้งหมดได้ลงตัว หรือหารลงตัวอย่างน้อย 2 จำนวน จำนวนใดหารไม่ได้ให้ดึงลงมา
3) ให้ทำซ้ำข้อ 2 จนกว่าจะหารอีกไม่ได้
4) นำตัวหารทั้งหมดและผลลัพธ์สุดท้ายมาคูณกัน ผลคูณคือค่าของ ค.ร.น.
1) นำจำนวนทั้งหมดที่ต้องการหา ค.ร.น. มาตั้งเรียงกัน
2) หาจำนวนเฉพาะที่สามารถหารจำนวนทั้งหมดได้ลงตัว หรือหารลงตัวอย่างน้อย 2 จำนวน จำนวนใดหารไม่ได้ให้ดึงลงมา
3) ให้ทำซ้ำข้อ 2 จนกว่าจะหารอีกไม่ได้
4) นำตัวหารทั้งหมดและผลลัพธ์สุดท้ายมาคูณกัน ผลคูณคือค่าของ ค.ร.น.
ตัวอย่าง จงหา ค.ร.น. ของ 10, 24 และ 30
วิธีทำ 2) 10 24 30 5) 5 12 15 3) 1 12 3 1 4 1
ค.ร.น. = 2 x 5 x 3 x 4 = 120
ประโยชน์ของ ค.ร.น.
1. ใช้ในการหาผลบวกและผลลบของเศษส่วน โดยทำส่วนให้เท่ากัน
2. ใช้ในการคำนวณงานบางอย่างที่ใช้เวลาต่างกัน และหาเวลาที่จะทำพร้อมกันในครั้งต่อไป
1. ใช้ในการหาผลบวกและผลลบของเศษส่วน โดยทำส่วนให้เท่ากัน
2. ใช้ในการคำนวณงานบางอย่างที่ใช้เวลาต่างกัน และหาเวลาที่จะทำพร้อมกันในครั้งต่อไป
http://patsang.wordpress.com/ เรื่องการหา ค.ร.น.และห.ร.ม.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)